รู้หรือไม่..หญิงตั้งครรภ์ ช่วง 3-6 เดือนแรก มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด "โรคกรดไหลย้อน"
โดยทั่วไปมักมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ขมที่ลิ้นและคอ ไม่สบายตัว อาเจียน เจ็บคอและอาจไอเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อน คือ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ
- ช่องท้องขยายตัวมากขึ้นจากการเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้กระเพาะอาหารจึงขยับไปอยู่สูงขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ หรืออยู่ในท่างอตัว น้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะดันขึ้นมาที่หลอดอาหาร
- การรับประทานอาหารปริมาณที่มากขึ้น รวมถึงการอาจอยากอาหารที่มีรสจัด หรือของดอง ที่เป็นตัวการของกรดเกินในกระเพาะอาหาร
ทั้งนี้ อาการโรคกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพียงอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะหลอดอาหารอักเสบได้ แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปหลังจากคลอดบุตร
การรับมือและป้องกันอาการกรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่
- รับประทานอาหารครั้งละปริมาณน้อย แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงการกินก่อนนอน 3-4 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเล่น อย่างน้อย 10-15 นาทีหลังมื้ออาหาร
- ปรับท่านอน ให้ศีรษะยกสูงและเอนตัว โดยควรให้ศีรษะยกสูงไม่น้อยกว่า 30 ซม.
"วันเกิร์ด" ชนิดน้ำ บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยการทำงานออกฤทธิ์ 2 กลไก สร้างชั้นเจลและลดกรด เป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา