แชร์

“ผู้สูงอายุ” กลุ่มเสี่ยงการเกิดโรคกรดไหลย้อน

360 ผู้เข้าชม

ถึงแม้ว่า โรคกรดไหลย้อน จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น ๆ เนื่องจากเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายเสื่อมสภาพ รวมถึงการรับประทานยาบางชนิดต่อเนื่องที่มีผลต่อการทำงานของหูรูดกระเพาะอาหารปิดไม่สนิท มีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทำให้อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ง่าย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง "โรคกรดไหลย้อน"​ ในผู้สูงอายุ

  1. ช่วงวัยที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  2. ปัจจัยเสี่ยงสะสมจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกิน การสูบบุหรี่
  3. ไม่ค่อยออกกำลังกาย รวมถึงการกินแล้วนอนทันทีหลังมื้ออาหาร
  4. ผลข้างเคียงจากโรงเรื้อรัง รวมถึงการกินยาบางชนิด

ลักษณะอาการ "โรคกรดไหลย้อน" ในผู้สูงอายุ

  1. มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาถึงหน้าอก มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร หรือเมื่อมีการนอนหงาย หรือโน้มตัวไปข้างหน้า จะรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในคอและปาก
  2. มีอาการเรอเปรี้ยวและขย้อนอาหาร รู้สึกถึงรสเปรี้ยวจากน้ำย่อยและอาจรู้สึกขมคอจากน้ำดี
  3. มีอาการจุกเสียด แน่นยอดอก คลื่นไส้ ลักษณะเหมือนอาหารไม่ย่อยและมีอาการเรอ
  4. ในกรณีมีอาการต่อเนื่องและรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการไอบ่อย รวมถึงอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ มะเร็งกล่องเสียง

อย่างไรก็ตาม เราสามารถแนะนำให้ผู้สูงอายุดูแลตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคไหลย้อนได้ดังนี้

  1. ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ และรับประทานให้ตรงเวลา
  2. ไม่เอนหลังหรือนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
  3. ควบคุมอาหาร งดอาหารรสจัด เหนียว แข็งและย่อยยาก
  4. ควบคุมการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน
  5. ออกกำลังกายเบา ๆ หลังมื้ออาหาร เช่น เดิน ยืนแกว่งแขน

ผลิตภัณฑ์วันเกิร์ดชนิดน้ำ บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยการทำงานออกฤทธิ์ 2 กลไก สร้างชั้นเจลและลดกรด ยาสามัญประจำบ้านหาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา 

 



บทความที่เกี่ยวข้อง
"แคมเปญใจฟู" โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย
อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ส่งต่อโอกาสให้ศิลปินออทิสติกจาก Artstory กับ "แคมเปญใจฟู" ผ่านกิจกรรม Exclusive Workshop ระบายรอยยิ้มบนกระเป๋าผ้า
เริ่มแล้ว! แผงยาช่วยโลก โครงการดี ๆ เพื่อสังคม โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป
เริ่มแล้ว! "แผงยาช่วยโลก" ไอเดียสร้างสรรค์ช่วยโลกเพื่อความยั่งยืน ภายใต้การนำของ ภก.ชาญชัย อุดมลาภธรรม CEO อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน จากแผงฟอยล์อะลูมิเนียมที่เหลือจากการผลิตภายในโรงงานในการผลิตยาสามัญประจำบ้าน
สังเกตอาการระหว่าง "โรคกระเพาะ" กับ "โรคกรดไหลย้อน"
ข้อสงสัยที่หลายคนอาจมีคำถามว่า อาการที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นภาวะ "โรคกรดไหลย้อน" หรือไม่ สังเกตอาการความแตกต่างระหว่าง โรคกรดไหลย้อน และ โรคกระเพาะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ