แชร์

"กรดไหลย้อน" พฤติกรรมนำพา รักษาได้หรือไม่

472 ผู้เข้าชม

"กรดไหลย้อน" พฤติกรรมนำพา รักษาได้หรือไม่

โดย ภญ. กมลชนก ไทยเรือง

"พฤติกรรมนำพา" วลีนี้น่าจะอธิบายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด "โรคกรดไหลย้อน" ได้ค่อนข้างดี เพราะปัจจัยส่วนใหญ่ที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ล้วนมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ รับประทานอาหารใกล้เวลานอน รวมถึงการรับประทานอาหารทอด อาหารมัน  แต่นอกจากพฤติกรรมแล้ว ในผู้ป่วยบางกลุ่มก็มีปัจจัยทำให้เสี่ยงในการเป็นกรดไหลย้อนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น

เมื่อ "ความเสี่ยง"​ แปรเปลี่ยนเป็นการเกิดโรค

อาการของโรคกรดไหลย้อนที่พบได้มาก คือ อาการแสบร้อนกลางอกและเรอเปรี้ยว หากจะวินิจฉัยเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ต้องไม่พบสัญญาณเตือน (Alarm features) รวมถึงความผิดปกติอื่นๆ ในการตรวจร่างกาย โดยอาการที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละคนจะส่งผลให้การรักษาแตกต่างกันออกไป แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย ได้แบ่งกลุ่มการรักษาออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. กลุ่มที่มีอาการนอกหลอดอาหาร (Extra Esophageal symptoms)
  2. กลุ่มที่มีอาการทางหลอดอาหารที่จำเพาะ (Typical symptoms)
  3. กลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางหัวใจ (Non - Cardiac chest pain, NCCP)

การรักษากรดไหลย้อนตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย แนะนำให้เริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย พร้อมกับใช้ยาลดการหลั่งกรดชนิด Proton pump inhibitor (PPI) แต่หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน (PPI Non-responsive GERD) การใช้ยาที่กลุ่ม Alginate เสริมกับยากลุ่ม PPI จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอาการของโรคได้ดีกว่าการใช้งานกลุ่ม PPI อย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ส่องกล้องทางเดินอาหารแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ และในปี 2021 ได้มีการตกลงร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ถึงคำแนะนำในการรักษากรดไหลย้อนในกลุ่มผู้ป่วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง โดยให้ใช้ยากลุ่ม Alginate เป็นยาทางเลือกแรก (First-line therapy) และในกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยากลุ่ม PPI แล้วยังไม่ได้ผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม Alginate ร่วมด้วย เพื่อช่วยในการควบคุมอาการ

แม้ว่ากรดไหลย้อนจะเป็นโรคที่เกิดจาก "พฤติกรรมนำพา" แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็น การลดหรือเลิกดื่มสุราและสูบบุหรี่ ลดน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาจทำได้แค่ลดความรุนแรงของโรค การใช้ยากลุ่ม PPI ยังคงเป็นการรักษาหลักของโรคนี้ โดยมียากลุ่ม Alginate เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรักษาร่วมกับยากลุ่ม PPI และยากลุ่ม Alginate ยังเป็นทางเลือกแรกในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางอีกด้วย

แหล่งข้อมูล

  • สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย 2563.
  • Goh KL, Lee YY, Leelakusolvong S, et al. Consensus statements and recommendations on the management of mild‐to‐moderate gastroesophageal reflux disease in the Southeast Asian region. JGH Open. 2021 Aug;5(8):855-63.

บทความที่เกี่ยวข้อง
"แคมเปญใจฟู" โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย
อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ส่งต่อโอกาสให้ศิลปินออทิสติกจาก Artstory กับ "แคมเปญใจฟู" ผ่านกิจกรรม Exclusive Workshop ระบายรอยยิ้มบนกระเป๋าผ้า
เริ่มแล้ว! แผงยาช่วยโลก โครงการดี ๆ เพื่อสังคม โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป
เริ่มแล้ว! "แผงยาช่วยโลก" ไอเดียสร้างสรรค์ช่วยโลกเพื่อความยั่งยืน ภายใต้การนำของ ภก.ชาญชัย อุดมลาภธรรม CEO อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน จากแผงฟอยล์อะลูมิเนียมที่เหลือจากการผลิตภายในโรงงานในการผลิตยาสามัญประจำบ้าน
สังเกตอาการระหว่าง "โรคกระเพาะ" กับ "โรคกรดไหลย้อน"
ข้อสงสัยที่หลายคนอาจมีคำถามว่า อาการที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นภาวะ "โรคกรดไหลย้อน" หรือไม่ สังเกตอาการความแตกต่างระหว่าง โรคกรดไหลย้อน และ โรคกระเพาะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ