ความเข้าใจผิดสำหรับผู้มีอาการ "โรคกรดไหลย้อน"
หลายคนอาจคิดว่าการกินยาต่อเนื่องจะช่วยรักษาได้ แต่รู้หรือไม่ว่า..แค่กินยาไม่สามารถช่วยรักษาได้ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นล้วนมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น แต่เราจะรู้หรือสังเกตได้อย่างไรว่าอาการที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคกรดไหลย้อน
ลักษณะอาการบ่งบอกความเสี่ยงเกิดโรคกรดไหลย้อน
- มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาถึงหน้าอก มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร หรือเมื่อมีการนอนหงาย หรือโน้มตัวไปข้างหน้า จะรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในคอและปาก
- มีอาการเรอเปรี้ยวและขย้อนอาหาร รู้สึกถึงรสเปรี้ยวจากน้ำย่อยและอาจรู้สึกขมคอจากน้ำดี
- มีอาการจุกเสียด แน่นยอดอก คลื่นไส้ ลักษณะเหมือนอาหารไม่ย่อยและมีอาการเรอ
- ในกรณีมีอาการต่อเนื่องและรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการไอบ่อย รวมถึงอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ มะเร็งกล่องเสียง
ผู้ที่เริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้นอาจยังไม่ต้องกังวลมากนัก เพียงแค่เริ่มพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
- เลี่ยงการกินก่อนนอน 3-4 ชั่วโมง
- เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมื้อใหญ่
- เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม
- นอนยกศีรษะสูง 15 ซม. หรือ 30 องศา
- ออกกำลังกาย ควบคุมและลดน้ำหนัก
- งดการสูบบุหรี่ รวมถึงการเคี้ยวหมากฝรั่ง
วันเกิร์ด ชนิดน้ำ บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยการทำงานออกฤทธิ์ 2 กลไก สร้างชั้นเจลและลดกรด เป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา