แชร์

ปรับพฤติกรรม..ลดโอกาสเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน

265 ผู้เข้าชม
ปรับพฤติกรรม..ลดโอกาสเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน

ปรับพฤติกรรม..ลดโอกาสเสี่ยง "โรคกรดไหลย้อน"

อย่างที่ทราบกันดีว่าโอกาสเสี่ยงของการเกิด "โรคกรดไหลย้อน"​ มีได้ทุกเพศทุกวัย และโดยส่วนใหญ่สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นล้วนมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น แต่เราจะรู้หรือสังเกตได้อย่างไรว่าอาการที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

ลักษณะอาการบ่งบอกความเสี่ยงเกิด "โรคกรดไหลย้อน"

  1. มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาถึงหน้าอก มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร หรือเมื่อมีการนอนหงาย หรือโน้มตัวไปข้างหน้า จะรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในคอและปาก
  2. มีอาการเรอเปรี้ยวและขย้อนอาหาร รู้สึกถึงรสเปรี้ยวจากน้ำย่อยและอาจรู้สึกขมคอจากน้ำดี
  3. มีอาการจุกเสียด แน่นยอดอก คลื่นไส้ ลักษณะเหมือนอาหารไม่ย่อยและมีอาการเรอ
  4. ในกรณีมีอาการต่อเนื่องและรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการไอบ่อย รวมถึงอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ มะเร็งกล่องเสียง


ผู้ที่เริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้นอาจยังไม่ต้องกังวลมากนัก เพียงแค่เริ่มพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้  

  • เลี่ยงการกินก่อนนอน 3-4 ชั่วโมง
  • เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมื้อใหญ่
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  • นอนยกศีรษะสูง 15 ซม. หรือ 30 องศา
  • ออกกำลังกาย ควบคุมและลดน้ำหนัก
  • งดการสูบบุหรี่ รวมถึงการเคี้ยวหมากฝรั่ง


"วันเกิร์ด" ชนิดน้ำ บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยการทำงานออกฤทธิ์ 2 กลไก สร้างชั้นเจลและลดกรด เป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อได้ตามร้านขายยาแผนปัจจุบัน และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

บทความที่เกี่ยวข้อง
"แคมเปญใจฟู" โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย
อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทย ส่งต่อโอกาสให้ศิลปินออทิสติกจาก Artstory กับ "แคมเปญใจฟู" ผ่านกิจกรรม Exclusive Workshop ระบายรอยยิ้มบนกระเป๋าผ้า
เริ่มแล้ว! แผงยาช่วยโลก โครงการดี ๆ เพื่อสังคม โดย อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป
เริ่มแล้ว! "แผงยาช่วยโลก" ไอเดียสร้างสรรค์ช่วยโลกเพื่อความยั่งยืน ภายใต้การนำของ ภก.ชาญชัย อุดมลาภธรรม CEO อาร์เอ็กซ์ กรุ๊ป ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืน จากแผงฟอยล์อะลูมิเนียมที่เหลือจากการผลิตภายในโรงงานในการผลิตยาสามัญประจำบ้าน
สังเกตอาการระหว่าง "โรคกระเพาะ" กับ "โรคกรดไหลย้อน"
ข้อสงสัยที่หลายคนอาจมีคำถามว่า อาการที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นภาวะ "โรคกรดไหลย้อน" หรือไม่ สังเกตอาการความแตกต่างระหว่าง โรคกรดไหลย้อน และ โรคกระเพาะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ